จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา 




                       ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" 

        

                ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 


          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี


          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ 



          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 


      1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค 


           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค 

          ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 

      
           1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 


           2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 


           3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 


           4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 


           5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 


           6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 


           7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 


           8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน 



    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่  

    
           1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด  
    
           2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ  
    
           3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา  


           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น     


ขอขอบคุณข้อมูลจาก - http://hilight.kapook.com/view/26024/

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รูปภาพบ้าน

วันแม่


วันแม่แห่งชาติทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ 255
วันแม่แห่งชาติปี 2555 นี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2555 และเป็นปีมหามงคลยิ่งเนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา



วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
 แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. ?จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์  วันแม่แห่งชาติ ประเทศ นอร์เวย์
  • 8 มีนาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
  • อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
  • 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
  • อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
  • 8 พฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
  • 10 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
  • 26 พฤษภาคม     วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  โปแลนด์
  • 27 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โบลิเวีย
    อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม  สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
    อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
  • 12 สิงหาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
  • 15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
    อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (D?a de la Madre)
  • 28 พฤศจิกายน   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ รัสเซีย
  • 8 ธันวาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ ปานามา
  • 22 ธันวาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  อินโดนีเซีย

วันเข้าพรรษา



วันเข้าพรรษา
                              วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็น เป็นระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน คือตั้งแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งวันเข้าพรรษาปีนี้ ตรงกับวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕

โดยทั่วไปการจำพรรรษา หรือ การอธิษฐานอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน จะมี ๒ ระยะ คือ
๑.ปุริมพรรษา หรือ เข้าพรรษาแรก” นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง
๒. ปัจฉิมพรรษา หรือ เข้าพรรษาหลัง” จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ในประเทศไทย พระภิกษุส่วนใหญ่จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษาหรือพรรษาแรกมากกว่าปัจฉิมพรรษาหรือพรรษาหลัง ยกเว้นพระภิกษุที่อาพาธ(ป่วย)หรือมีกิจจำเป็นจึงจะอธิษฐานจำพรรษาในช่วงปัจฉิมพรรษา ส่วนการที่มีเดือนแปดสองหน หรือปีอธิกมาส ก็เพราะเป็นการนับทางจันทรคติ(วันขึ้น วันแรม)ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนวันน้อยกว่าการนับทางสุริยคติ(การนับวันตามแบบปัจจุบัน) ทำให้ต้องเพิ่มเดือนในบางปีเพื่อชดเชยจำนวนวันที่หายไป มิให้ปีทางจันทรคติและสุริยคติคลาดเคลื่อนกันไปมากความเป็นมาของวันเข้าพรรษาเกิดขึ้น





วันเข้าพรรษา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่ก็อยู่ประจำที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกพุทธศาสนาที่มักถือเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่จำพรรษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์พาบริวารจำนวน ๑,๕๐๐ รูปเที่ยวจาริกไปตามที่ต่างๆ เนื่องจากตอนต้นพุทธกาลยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษา ทำให้ชาวบ้านพากันติเตียนถึงการจาริกของท่านเพราะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย เมื่อรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามจนได้ความจริง แล้วทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน   


อย่างไรก็ดี หนังสือ วันเข้าพรรษา” ที่จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวไว้ว่า ในกรณีที่มีกิจจำเป็น พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนที่อื่นได้คราวละไม่เกิน ๗ วัน โดยไม่ถือว่าอาบัติ เรียกว่าเป็นเหตุพิเศษหรือ สัตตาหกรณียกิจ” ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการคือ
Ø ๑.เพื่อนสหธรรมิก (ผู้มีธรรมร่วมกัน) ทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา(นางผู้กำลังศึกษา /สามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ปีและ   อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี) สามเณร สามเณรี หรือบิดามารดาป่วยไปเพื่อพยาบาลได้
Ø ๒.ไปเพื่อยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากสึก มิให้สึกได้
Ø ๓.ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิ วิหารที่ชำรุดทรุดโทรมได้
Ø ๔.ไปเพื่อฉลองศรัทธาทายกที่เขาส่งตัวแทนมานิมนต์ไปร่วมบำเพ็ญบุญได้
นอกจากนั้น วันเข้าพรรษา ยังยกเว้นสำหรับพระภิกษุที่ประสบเหตุดังต่อไปนี้ แม้จะเป็นระหว่างพรรษาก็สามารถหลีกไปที่อื่นได้โดยไม่อาบัติ แต่ขาดพรรษา คือ ถูกสัตว์ร้ายรบกวนหรือเบียดเบียน ถูกงูรบกวนหรือขบกัด ถูกโจรเบียดเบียนหรือปล้น ทุบตี ถูกปีศาจรบกวน เข้าสิงหรือฆ่า ชาวบ้านที่ให้ความอุปถัมภ์ไม่สามารถอุปถัมภ์ได้ต่อไปเพราะย้ายถิ่น ฐานไปที่อื่น หรือเสนาสนะของภิกษุถูกไฟไหม้น้ำท่วม หรือมีผู้จะพยายามทำร้าย พระภิกษุสามารถหลีกไปอยู่ที่อื่นระหว่างพรรษาได้

วันเข้าพรรษานอกจากจะเป็นช่วงที่พระภิกษุอยู่ประจำที่ดังกล่าวแล้ว ยังก่อให้เกิดประเพณีสำคัญขึ้นอีก ๒ ประเพณีคือ ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน และประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เกิดขึ้นโดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งนางวิสาขา มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน

จึงให้หญิงรับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ เห็นแต่พวกชีเปลือย นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่ ดังนั้น นางจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และกล่าวกันว่า ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่นๆตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ



ส่วนประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆเพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆธรรมดา ครั้นต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆมารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

กล่าวกันว่า เทียนพรรษา เริ่มมาจากผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งนับถือวัว ที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระเป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย โดยเอามาจากรังผึ้งร้าง ต้มเอาขี้ผึ้งมาฟั่นเป็นเทียนเล็กๆเพื่อจุดบูชาพระ และได้ยึดเป็นประเพณีที่จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุในช่วงเข้าพรรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดุจดังแสงสว่างของดวงเทียน

อนึ่ง การที่พระภิกษุจำนวนมากอยู่จำพรรษาถึง ๓ เดือนนี้ นับเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระเถระที่เป็นอุปัชาย์อาจารย์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ไปบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดจนไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นประเพณีนิยมที่จะให้ลูกหลานไปบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และได้ฝึกฝนตนเอง

สำหรับปัจจุบัน ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยที่ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันสำรวจพฤติกรรมของตนที่ผ่านมา และตั้งจิตอธิษฐานที่จะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่น เลิกเหล้า อดบุหรี่ การพูดจาหยาบคาย ฯลฯ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือน โดยใช้วันนี้เป็นวันเริ่มต้นในการกระทำดี ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมเกิดความสุข สงบร่มเย็น

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบ้าน 24/07/2555

การบ้าน
1.ให้เขียน blog เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา
2.ให้เขียน blog เกี่ยวกับวันแม่
3.ให้ไปอ่านคู่มือ การใช้โปรแกรม Flash CS3 ในเว็บ www.dekbodin.com

ข้อ1-2 ส่งภายในวันที่ 31 กรกฏาคม 2555